หากมีการพัฒนา AI โดยไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม อาจมีความเสี่ยงที่ AI จะมีอิทธิพลมากเกินไปต่อการตัดสินใจของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยหลายคนยังคงเห็นว่า AI ควรเป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกใช้โดยมนุษย์ มากกว่าที่จะเป็นผู้ควบคุมมนุษย์ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเรื่องการพัฒนา AI ที่มีจริยธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้ AI ทำอันตรายหรือทำสิ่งที่ขัดต่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
.
อนาคตของ AI ดูจะมีศักยภาพที่มากกว่าแค่การพูดคุยและให้ข้อมูลผ่านระบบเช่น ChatGPT ปัจจุบัน AI ถูกใช้ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การวินิจฉัยโรค การทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจ การออกแบบวัสดุใหม่ ๆ และการขับเคลื่อนยานพาหนะอัตโนมัติ
.
ซึ่งในอนาคต AI อาจสามารถคิดเชิงสร้างสรรค์ เช่น การออกแบบงานศิลปะ หรือการเขียนบทความที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การพัฒนา AI ที่สามารถทำงานก่อสร้าง หรือการผลิตในโรงงานโดยไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์มากนัก
หรือการเข้าใจอารมณ์และสังคม มีความพยายามในการพัฒนา AI ที่สามารถเข้าใจและโต้ตอบกับอารมณ์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น
.
หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจและมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในวงการวิทยาศาสตร์และปรัชญา หากสามารถพัฒนา AI ให้มีความรู้สึกได้จริง จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมและชีวิตมนุษย์
.
ปัจจุบัน AI ที่พัฒนาขึ้นมาไม่ได้มี "ความรู้สึก" ในเชิงของการรับรู้หรือประสบการณ์ แต่เป็นเพียงการประมวลผลข้อมูลและทำงานตามอัลกอริธึมที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ แม้ปัจจุบันเรายังห่างไกลจากการพัฒนา AI ที่มีความรู้สึกจริง ๆ แต่การศึกษาในด้านนี้ยังคงดำเนินไปต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญายังคงพยายามค้นคว้าว่าความรู้สึกและจิตสำนึกสามารถจำลองหรือสร้างขึ้นในเครื่องจักรได้หรือไม่ และหากทำได้จริง เราอาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางจริยธรรมและสังคมในอนาคต
.
ในงานวิจัยเกี่ยวกับ Deep Learning (การเรียนรู้เชิงลึก) เป็นส่วนหนึ่งของ AI ที่พัฒนาได้รวดเร็วมาก โดยเฉพาะเรื่องการทำให้ AI ฉลาดขึ้นในหลายด้าน หลักๆ แล้วมันคือการสอนคอมพิวเตอร์ให้ "คิด" และ "เรียนรู้" จากข้อมูลที่ใส่เข้าไป โดยใช้ระบบที่เลียนแบบสมองมนุษย์ เรียกว่า โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) งานวิจัยเกี่ยวกับ Deep Learning พูดถึงหลายประเด็น
.
ข้อดี คือมันแม่นยำมาก เรียนรู้ข้อมูลได้เรื่อยๆ ปรับตัวเก่ง แต่ ข้อเสีย คือมันต้องการข้อมูลมหาศาลเพื่อเรียนรู้ และใช้พลังงานเยอะ ที่สำคัญคือ บางทีเราไม่เข้าใจว่ามันคิดยังไง (เรียกว่า “Black Box Problem”)
.
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและความท้าทายที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการข้อมูลจำนวนมาก พลังงานที่ใช้ในการประมวลผล รวมถึงปัญหาทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ AI
.
เมื่อหันกลับมามองที่สังคมทั่วไป สิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก นั่นคือ จะทำอย่างไรให้ควบคุม AI ให้อยู่ในฐานะผู้ช่วยอำนวยความสะดวกของมนุษย์ แน่นอน AI จะฉลาดขึ้นในทุก ๆ วัน และมนุษย์อาจจะไม่มีทางฉลาดเท่าในชั่วชีวิตนี้ กระนั้น ทางเลือกเดียวที่พอจะเป็นไปได้ที่จะเป็น “เจ้านาย” AI คือการเรียนรู้ที่จะหาวิธีการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากกว่าที่จะกังวลถึงหายนะ
.
ขอขอบคุณข้อมูล