HOME
 
 
CONTACT
  TODAY TOPIC  
 

กีฬานองเลือด หมีสู้กับสุนัข

 
  10/04/2024  
 
Bear-Baiting (หมีสู้กับสุนัข) กีฬานองเลือดสุดโปรดของเหล่าชนชั้นสูง แถมไม่รวยจัดไม่ได้!
.
เกมกีฬานี้มีความนิยมในประเทศอังกฤษตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 จนถึงศตวรรษที่ 17 นิยมถึงขั้นมีการสร้างสนามแข่ง เพื่อจุคนที่มาดูการแข่งได้จำนวนมากเลย ซึ่งสนามแข่งขันนี้เรียกว่า Beargarden
.
โดยกติกาในการเล่นเกมนี้คือ หมีจะโดนล่ามไว้ให้อยู่กับที่ และจากนั้นจะเริ่มปล่อยสุนัข ซึ่งจะใช้สุนัขหลาย ๆ ตัวลุมหมีเพื่อให้เกมดูน่าสนุก โดยสายพันธุ์สุนัขที่นำมาแข่งขันจะเป็นสุนัขสายพันธุ์อิงลิชบลูด๊อก จากนั้นทั้งสองฝั่งก็จะเริ่มสู้กัน หมีก็จะทำการกัด ข่วน พร้อมทั้งยังคำรามออกมา ผู้เข้าชมจะส่งเสียงเชียร์กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งยิ่งนองเลือดเท่าไหร่ผู้ชมก็ยิ่งชอบ
.
การแข่งขันนี้จะจบลงได้ก็ต่อเมื่อหมีได้ฆ่าสุนัขทุกตัวในสังเวียนหมดแล้ว แต่การแข่งขันส่วนใหญ่ฝ่ายหมีจะเป็นผู้ชนะเสียมากกว่า หลังจากจบเกมหมีบางตัวก็กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์โด่งดัง เพราะคนดูชื่นชอบการต่อสู้ของเจ้าหมี จนมีแฟนคลับล้มหลามเลยทีเดียว
.
โดยกีฬาชนิดนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่นิยมแค่ในชนชั้นล่าง เพราะในกลุ่มคนดูก็เต็มไปด้วยชนชั้นสูง รวมไปจนถึงพระราชาพระราชินีก็ต่างชื่นชอบที่จะมาดูการแข่งขันนี้อีกด้วย แถมยังมีบันทึกว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 และสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 ของอังกฤษ ยังทรงโปรดปราณจนไม่เคยพลาดซักการแข่งขัน
.
ซึ่งการจัดการแข่งกีฬาชนิดนี้ในแต่ละครั้งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล จึงมีเพียงแค่เหล่าชนชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถจัดได้ เพราะการจับหมีเพียงแค่ 1 ตัวในแต่ละครั้งเพื่อนำมาประลองต้องใช้ทรัพยากร เช่น คน โซ่ หรืออุปกรณ์ในการจับมหาศาล ทำให้การจัดการแข่งขันในแต่ละครั้งใช้เงินจำนวนมาก
.
ยิ่งในสังคมยุโรปยุคนั้นมันมีกฎหมายห้ามคนธรรมดาทั่วไป “ล่าสัตว์” เพราะการล่าสัตว์เป็นกิจกรรมที่ถูกสงวนไว้ให้ชนชั้นสูงเท่านั้น ซึ่งการไปจับหมีเพื่อมาประลองกับสุนัข คนที่มียศถาบรรดาศักดิ์เท่านั้นถึงจะทำได้
.
ซึ่งช่วงหลังความนิยมของกีฬานี้สูง ทำให้ในประเทศอังกฤษจำนวนประชากรของหมีเหลือน้อย บรรดาชั้นสูงถึงขั้นต้องนำเข้าหมี เพื่อใช้มาต่อสู้เลยทีเดียว
.
จนกระทั่งถึงช่วงศตวรรษที่ 17 ความนิยมของ Bear-baiting ก็ลดลง เพราะทัศนคติที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับการทารุณสัตว์ได้ทำให้หลายคนมองว่ากีฬาเหล่านี้เป็นการกระทำที่เลวทรามและน่ารังเกียจ จนสุดท้ายรัฐสภาอังกฤษมีมติสั่งห้ามการจัดการแข่งขันทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทารุณสัตว์ในปี 1835 ส่งผลให้ Bear-baiting ถูกยกเลิกไปในที่สุด
.
ขอขอบคุณที่มา:
.

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.