รูัไหมว่าในพงศาวดาร ของไทย-พม่า ได้มีบันทึกเรื่อง 'ยุทธหัตถี' ที่ต่างกัน อีกฝ่ายชนะได้ด้วยดาบ อีกฝ่ายบอกว่าแพ้เพราะกระสุนของทหารในวงล้อม?
.
พงศาวดารคือการบันทึกประวัติศาสตร์หลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไป โดยอิงหลักฐานหรือคำบอกเล่าที่ส่งต่อกันมา เรื่องราวอาจคลาดเคลื่อนหรือบิดเบนจากความจริง เนื่องจากการเล่าขานที่ปรับเปลี่ยนตามเวลา หรือเจตนาของผู้บันทึก เช่น ในกรณีของสงครามยุติหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช ที่อาจถูกเล่าแตกต่างกันตามมุมมองของผู้บันทึก
.
พงศาวดารทั้งไทยและพม่าจะนับถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถึงแม้จะมีบันทึกเหตุการณ์นี้ส่วนใหญ่ตรงกันว่า ทั้งสองพระองค์ต่างทรงช้างพระที่นั่งมา เมื่อตอนได้สู้กัน พระมหาอุปราชได้สิ้นพระชนม์คาคอช้าง แต่ก็บรรยายเหตุการณ์ต่างกัน โดยเฉพาะสาเหตุของการสวรรคต
.
ในยุทธหัตถีที่พงศาวดารไทยเขียนไว้อย่างละเอียด จะเล่าว่า ชนช้างตัวต่อกับพระมหาอุปราชมังสามเกียดแห่งพม่า และตอนที่กำลังชนช้างอยู่นั้น 'เจ้าพระยาไชยานุภาพ' หรืออีกชื่อคือ พลายภูเขาทอง
.
ในตอนนั้นพระเจ้าไชยานุภาพค่อนข้างอ่อนแอเพราะกำลังตกมันอยู่ ทำให้โดนชนสะเปะสะปะไปมาไร้หนทางสู้ ไปจนถึงต้นพุทราต้นหนึ่ง อยู่ ๆ ช้างของพระนเรศวรเกิดฮึดสู้ เอาขาเหยียบต้นพุทราล้มเพื่อตั้งหลักแล้วพุ่งกลับไปชนช้างของพระมหาอุปราช ทำให้พระนเรศวรได้ทีจ้วงฟันพระมหาอุปราชมังสามเกียดได้ ถือว่าเป็นชัยชนะที่สวยงาม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศย่านตะวันออก และเป็นการทำยุทธหัตถีของกษัตริย์ครั้งสุดท้ายในโลก
.
แต่ในมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ได้บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ว่า “...ในขณะนั้นพระมหาอุปราชทรงช้างชื่อภูมิจุน ปีกขวารับสั่งให้สะโตธรรมราชา พระอนุชา คุมพลทหารคอยตั้งรบ ปีกซ้ายนั้นรับสั่งนัดชินหน่องคุมพลทหารคอยตั้งรบ แล้วรับสั่งให้เจ้าเมืองชามะโย ช้างชื่อป๊อกจอไซยะ ๆ นี้กำลังตกน้ำมัน ๆ โทรมหน้าถึงกับต้องเอาผ้าปิดหน้าไว้แล้ว พระองค์รับสั่งให้คอยอยู่ข้างซ้ายช้างพระที่นั่งของพระองค์
.
ฝ่ายพระนเรศก็ขี่ช้างชื่อพระละภูมิออกมาพร้อมกับพลทหาร ครั้นยกมาใกล้ พระนเรศเห็นพระมหาอุปราชทรงช้างยืนคอยอยู่ พระนเรศก็ขับช้างตรงเข้าไปจะชนช้างกับพระมหาอุปราช เวลานั้นเจ้าเมืองชามะโยเห็นพระนเรศตรงเข้ามาดังนั้น ชามะโยก็ขับช้างที่ตกน้ำมันนั้นจะออกรบ พอเปิดผ้าที่ปิดหน้าช้างไว้แล้วไสช้างเข้าชนกับช้างพระนเรศ ช้างนั้นหาชนช้างพระนเรศไม่ กลับมาชนช้างของมหาอุปราชเข้า มหาอุปราชก็ไม่เป็นอันที่จะรบกับพระนเรศ มัววุ่นอยู่กับช้างที่ตกน้ำมันนั้นเป็นช้านาน เวลานั้นพลทหารของพระนเรศก็เอาปืนใหญ่ยิงระดมเข้ามา ลูกกระสุนไปต้องมหาอุปราช ๆ ก็สิ้นพระชนม์ที่คอช้างพระที่นั่งนั้น ในเวลานั้นตุลิพะละ พันท้ายช้าง เห็นพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ก็ค่อยประคองมหาอุปราชพิงไว้กับอานช้าง เพื่อไม่ให้พระนเรศรู้ แล้วถอยออกไป ขณะนั้นพระนเรศก็ไม่รู้ว่าพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ จึงไม่อาจจะตามรบ
.
จากนั้นฝ่ายพม่าก็นำพระศพมหาอุปราชใส่พระโกศที่ทำด้วยไม้มะม่วง เอาปรอทกลอกเสร็จ ก็เชิญพระศพและกองทัพกลับกรุงหงสาวดี
.
จะเห็นได้ว่าสงครามยุทธหัตถีในมุมมองของไทยและพม่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับฝ่ายไทย พระนเรศวรทรงใช้ดาบสังหารพระอุปราชา ขณะที่ฝ่ายพม่าเหตุการณ์กลับเป็นอีกทางหนึ่ง คือพระอุปราชาของพม่าเสด็จสวรรคตจากกระสุนปืนของทหารไทย ไม่ใช่จากพระนเรศวรแต่อย่างใด
.
การบันทึกประวัติศาสตร์จากทั้งสองฝ่ายที่มีมุมมองแตกต่างกัน ช่วยให้เห็นว่าแต่ละประเทศหรือแต่ละฝ่ายเขียนประวัติศาสตร์ในแบบของตนเอง แตกต่างจากยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียที่ทำให้การบิดเบือนความจริงยากขึ้น สิ่งที่สามารถเชื่อถือได้คือการที่ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชเกิดขึ้นจริง และไทยก็ชนะจริง แต่รายละเอียดของวิธีการชนะนั้นจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน เนื่องจากพงศาวดารในยุคนั้นมาจากการเล่าขานปากต่อปากของทหารที่เข้าร่วมสงคราม แล้วนำมาบันทึก ซึ่งอาจทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนจากการเล่าต่อๆ กันไป และอาจถูกชักจูงได้ง่าย