คำว่า 'ลั่น' แปลว่า ละทิ้ง ส่วน 'ทม' ก็คือ ทุกข์ระทม ดังนั้นลั่นทมจึงแปลว่าการละทิ้งซึ่งความทุกข์ ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งคือเพี้ยนมาจากคำว่า 'สรันธม' เป็นภาษาเขมรโบราณ แปลว่า ดอกไม้แห่งรักที่มั่นคง
จริงๆมีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับชื่อลั่นทม บ้างก็ว่าแผลงมาจากคำว่า 'ผกาธม' แปลว่าดอกไม้ใหญ่ในภาษาเขมร นำเข้ามาปลูกในไทยตอนที่ไปตีนครธมชนะ เลยเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า 'ลั่นธม'
'ลั่น' แปลว่า ตี (ลั่นกลองฯ)
'ธม' หมายถึง นครธม
อีกแนวคิดคือ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าลั่นทมเข้ามาในไทยครั้งแรกสมัยอยุธยา ผ่านพ่อค้าชาวฝรั่งเศส(ชาติแรกที่ค้นพบดอกไม้ชนิดนี้) หรือไม่ก็ชาวต่างชาติสักคน แต่ดอกลั่นทมเพิ่งได้รับความนิยมในช่วงสมัยรัชกาลที่ห้า นิยมปลูกกันในวังกับวัด
มีเรื่องเล่าว่า(ส่วนนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน) สาเหตุที่คนเชื่อว่าลั่นทมแปลว่าระทมทุกข์ เพราะเป็นกุศโลบายไม่ให้ชาวบ้านนำไปปลูก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นดอกไม้ชั้นสูง ปลูกได้แค่ในวังกับวัดเท่านั้น เคยมีชาวบ้านแอบนำกิ่งที่ตัดทิ้งไปปลูก พอโดนรู้เข้าก็ถูกลงโทษ
จากที่เล่าว่าต้นลั่นทมถูกนำเข้ามาในไทยผ่านชาวฝรั่งเศสหรือต่างชาติ ทำให้เกิดแนวคิดว่าต้นไม้นี้มีความอัปมงคล เพราะชาวยุโรปนิยมปลูกลั่นทมไว้ข้างหลุมศพ(ในสายตาคนไทย) คนสมัยนั้นก็เลยเกิดความรู้สึกระทมนั่นเอง
คือความเป็นมาของดอกไม้ชนิดนี้ซับซ้อนมากพอ ๆ กับการระบุว่าใครตั้งชื่อ ถ้าลองไปศึกษาจริง ๆ จะมีหลายทฤษฎีมาก แต่ยังไม่ได้รับการการันตีว่าแนวคิดไหน 100% พอ ๆ กับการที่ชื่อลีลาวดีไม่ได้ตั้งโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เสริมอีกนิด ตอนปี 47-48 สมัยกำลังสร้างสุวรรณภูมิ ร่ำลือกันว่าลั่นทมได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า ลีลาวดี เพื่อตกแต่งสนบ ทำให้เกิดกระแสลั่นทมฟีเวอร์ เลี้ยงขายแทบไม่ทัน แต่พอกระแสซาลงลั่นทมค้างสต็อกขายไม่ได้ คนขายก็กลับมาทุกข์อีกรอบ กลายเป็นแนวคิดเดิมอีกจนปัจจุบัน
เกร็ดความรู้ : ในแถบเพื่อนบ้านเรา มีแค่ไทยที่เดียวที่เรียกลั่นทม ส่วนที่อื่นเรียกจำปา(อาทิ จำปาลาว จำปามอญ จำปาขอม)
เพิ่มเติมอีกนิดเห็นมีคนชอบคำว่าสรันธม ถ้าแปลตรงๆ 'สรัน' แปลว่า ความรัก ส่วน 'ธม/ทม' แปลว่า ใหญ่ (ภาษาเขมร) แปลตรง ๆ จึงได้ว่า ความรักที่ยิ่งใหญ่
___________________
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
@cynsister
|