HOME
 
 
CONTACT
  Today topic  
 

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘กิโยติน’ ที่เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ การประหารชีวิต

 
  06/04/2023  
 

กิโยตินเป็นอุปกรณ์ที่หลาย ๆ ประเทศในยุโรปนิยมใช้ในการประหารชีวิตบุคคลต่าง ๆ ที่เป็น public execution หรือก็คือการประหารต่อหน้าสาธารณะชน โดยที่บุคคลพวกนั้นจะมีตั้งแต่บุคคลธรรมดาไปจนถึงขุนนางและกษัตริย์เลยนั่นเอง ตัวอย่างเช่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่โดนประหารชีวิตด้วยกิโยตินเช่นเดียวกัน

จริง ๆ แล้วก่อนที่กิโยตินจะถูกประดิษฐ์ขึ้นมา การประหารชีวิตในการตัดหัว ตัดคอ หรือว่าตัดศรีษะเนี่ยมันถูกใช้มาอย่างยาวนานมาก ๆ แล้ว ตั้งแต่มนุษย์เริ่มจะใช้โลหะได้เลย คือพอมนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการเริ่มสร้างดาบ สร้างใบมีดได้แล้ว การประหารจำพวกนี้ก็เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว คิดได้ง่าย ๆ ว่าการประหารแบบตัดคอเริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณ 4000 ปี ก่อนคริสตกาลหรืออาจจะมากกว่านั้นด้วยซ้ำ

โดยในยุคกลางการประหารแบบตัดคอส่วนมากมักจะนิยมใช้กับ นักโทษที่มีชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพวกชาวบ้านหรือคนธรรมดาจะมีวิธีประหารสารพัดวิธีอย่างเช่น การเผาร่าง , แขวนคอ หรือเอาร่างผูกไว้กับล้อแล้วให้ม้าพาวิ่งวนรอบเมืองจนกว่าจะตาย

พอมาถึงช่วงยุคกลางประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มเห็นว่า การประหารแบบตัดคอบางทีมันอาจจะเกิดการผิดพลาดได้ เพราะว่าการตัดคอด้วยดาบหรือขวานมันต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของมือประหารด้วย ถ้าเกิดมือประหารยังเป็นมือใหม่อยู่ไม่เก่ง เขาอาจจะตัดคอพลาดและทำให้ผู้ถูกประหารแทนที่จะตายในครั้งเดียวกลับใช้เวลานานกว่าจะตาย และทรมานมากเกินไป การตัดคอด้วยดาบบางครั้งก็ไม่จบในดาบเดียว การแขวนคอก็ทรมานก่อนที่จะตาย

นายแพทย์อ็องตวน หลุยส์ (Antoine Louis) จึงคิดค้นออกแบบกิโยตินขึ้น และอธิบายจุดมุ่งหมายของการประหารชีวิตว่า ‘การประหารชีวิต คือการยุติชีวิต ไม่ใช่การสร้างความเจ็บปวดทรมาน’ ชื่อตอนแรกของกิโยตินจึงเป็น ลูยแซตต์ หรือ ลูยซง (Louisette , Louison) ตามนายแพทย์ผู้คิดค้น

แต่เครื่องประหารเหล่านี้กลับถูกนำมาใข้แค่กับ นักโทษประหารที่มีชาติกำเนิดเป็นชนขั้นสูงเท่านั้น ทำให้ต่อมาในปี 1789 โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสและสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ได้ทำการเรียกร้องการผลักดันกฎหมายการใช้กิโยตินกับนักโทษประหารทุกชนชั้นไม่จำกัดเฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้น เพื่อความเท่าเทียม ที่คนทุกชนชั้นจะได้รับสิทธิตายแบบเจ็บปวดน้อยถึงน้อยมาก ทำให้วิธีการประหารไม่มีการแบ่งชนชั้นเหมือนก่อน

แม้ อ็องตวน หลุยส์ จะคิดค้นกระบวนการทำงานของกิโยติน แต่ผู้สร้างเครื่องกิโยตินจริงๆ คือ โทเบียส สมิดต์ (Tobias Schmidt) ช่างชาวเยอรมันผู้ทำเครื่องดนตรี ฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord) แต่หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสยุคนั้นเรียกเครื่องมือนี้ว่า กิโยติน ตามแพทย์กิโยตินที่เป็นผู้ผลักดันการพัฒนาเครื่องมือนี้ขึ้นมา

หลังจากนั้นเครื่องประหารลูยซง จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นกิโยตินที่คุ้นหูกันจนถึงปัจจุบัน แต่แต่อย่างไรก็ตาม นายแพทย์กียอแต็งก็ไม่ได้ภูมิใจกับเรื่องดังกล่าว ในทางกลับกันเขาเป็นผู้ต่อต้านโทษประหารและยังขอร้องรัฐบาลเปลี่ยนชื่อเครื่องมือดังกล่าวหลายต่อหลายครั้งเพราะเขาไม่ต้องการให้ชื่อสกุลเป็นชื่อเครื่องประหารชีวิต แต่ก็ไม่เป็นผล จนสุดท้ายเขาและครอบครัวจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อสกุลของตัวเองแทน

และแม้ว่านายแพทย์อ็องตวน หลุยส์ จะเป็นคนคิดค้นขึ้น แต่ผู้สร้างเครื่องกิโยตินจริง ๆ คือ ช่างชาวเยอรมันชื่อ โทเบียส สมิดต์ (Tobias Schmidt) ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอย่างน้อยถึง 20,000 คน และเครื่องประหารนี้ก็ยังถูกใช้งานในอีกหลายประเทศและทุกครั้งที่มีการประหารก็มักเป็นที่สนใจของคนทั่วไปอยู่เสมอ

แต่ฝันร้ายก็ต้องมีวันสิ้นสุด เพราะในที่สุดในปี ค.ศ. 1881 ก็ได้มีการยกเลิกกฎหมายประหารชีวิต จึงไม่มีการประหารด้วยกิโยตินอีก ยกเว้นช่วงหนึ่งที่นาซีปกครองทวีปยุโรป และได้นำเครื่องประหารชนิดนี้กลับมาใช้อีกครั้งในการประหารผู้ที่ไม่เห็นด้วย

คนในยุคนั้นสรุปกันว่ากิโยตินนั้นมีความเร็วและไวจนถึงขนาดตายโดยไม่ทันได้ตั้งตัวหรือเจ็บปวด เนื่องจากในปี 1793 มีหญิงสาวชื่อ ชาร์ล็อตต์ คอร์เดย์ เธอถูกตัดสินให้ประหารชีวิตในวันที่ 17 กรกฎาคม ซึ่งหลังจากโดนตัดหัวผู้ช่วยเพชรฆาตคนหนึ่งได้หยิบหัวของเธอขึ้นมา แล้วตบเข้าที่แก้มด้วยความแรง โดยผู้คนที่มุงอยู่ด้านล่างต่างเห็นว่าเธอทำสีหน้าไม่พอใจ กรอกตามองผู้ช่วยเพชรฆาต อ้าปากพยายามพูดบางอย่าง

พอต่อมาในปี 1950 ดอกเตอร์โบเรียคซ์ได้ทำการติดตามศึกษาฆาตกรแลงกุยล์เลอ ในวันที่ถูกประหาร และพบว่าดวงตาและปากของฆาตกรยังคงขยับต่ออีก 5-6 วิ เขาจึงลองตะโกนเรียกชื่อ และเห็นว่าตาของแลงกุยล์เลอเบิกโพลงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้ในตอนนั้นเกิดข้อสรุปว่าเมื่อหัวคนขาดแล้ว อาจจะสามารถประคองสติได้อีกกว่า 15 วินาทีก่อนที่จะตาย

คนที่จะถูกประหารด้วยกิโยตินจึงเผชิญแค่กับความกลัวล้วน ๆ ไม่ได้สัมผัสกับความทรมานทางกาย และกลายเป็นวิธีประหารที่ปรานีและเท่าเทียมที่สุดในยุคนั้น ทั้ง ๆ ที่คนถูกประหารอาจทำให้คนเจ็บอื่นปวดทรมาน แต่มนุษย์เราก็กลับหาวิธีที่ทำให้คนทำผิดตายแบบสบายให้ได้มากที่สุด หรือว่านี่อาจจะเป็นความเห็นอกเห็นใจอย่างหนึ่งที่มนุษย์มีให้กัน

แต่หากมองในอีกมุมการที่มีกฎหมายการประหารชีวิตแบบกิโยตินที่คนส่วนมากต่างรู้กันแล้วว่าทำให้ตายแบบไม่ทรมาน ก็อาจจะเป็นช่องโหว่หนึ่งที่ทำให้คนทำผิดง่ายขึ้น เพราะเขาอาจคิดว่าถ้าทำผิดไปหรือฆ่าใครไป และรู้ว่าสุดท้ายตัวเองจะต้องโดนโทษประหาร ก็ไม่ต้องกลัวอะไรเพราะการประหารมันไม่ได้ทรมานแบบสมัยก่อนเพราะแค่พริบตาเดียวก็จากไปอย่างไม่ทรมานได้แล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม แม้การประหารด้วยเครื่องประหารชนิดนี้ก็ไม่มีแล้วในปัจจุบัน แต่มันก็กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศสและเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความโหดร้ายมาจนถึงปัจจุบัน

_____________________
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.blockdit.com/posts/5f093549b82c760cc116143a
https://www.sarakadeelite.com/faces/louis-xvi/
https://www.foxnews.com/.../grisly-remains-guillotine...

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.