|
การศึกษานี้เป็นของ Jeff Morgan Stibel นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ Natural History Museum ในแคลิฟอร์เนียร์ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาและการปรับตัวของมนุษย์ที่ตอบสนองกับสภาวะโลกร้อน
โดยได้วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของขนาดสมองมนุษย์ โดยรวบรวมข้อมูลจากกะโหลกศีรษะของมนุษย์โบราณในสายตระกูลโฮโม (hominins) จำนวน 298 ตัวอย่าง ซึ่งทั้งหมดเคยมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 50,000 ปีที่ผ่านมา
ได้นำข้อมูลข้างต้นไปเปรียบเทียบกับบันทึกความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิเฉลี่ย, ความชื้น, และปริมาณน้ำฝนในยุคต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถทราบได้จากสารที่สะสมในแกนน้ำแข็งที่เจาะมาจากทวีปแอนตาร์กติกา
ผลปรากฏว่าขนาดสมองโดยเฉลี่ยของมนุษย์สายพันธุ์ต่าง ๆ ในอดีต มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงที่โลกมีอุณหภูมิหนาวเย็นลง และมีสภาพอากาศแห้ง ส่วนในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนโลกร้อนขึ้น ขนาดสมองของเผ่าพันธุ์มนุษย์จะหดเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญสูงสุดถึง 10.7 %
ซึ่งภาวะหดตัวของสมอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคนอยู่แล้วเมื่อเริ่มอายุ 30-40 ปี ซึ่งยิ่งเกิดภาวะโลกร้อนก็จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ภาวะนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม
โดยภาวะการหดตัวของสมองนี้ จะส่งผลต่อความจำ ความเครียด อารมณ์ การควบคุมตนเอง การแก้ไขปัญหา การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือรวมถึงการคิด พูด อ่าน เขียน อีกด้วย
ที่มา
- https://bit.ly/43XdJeZ
- https://bit.ly/47joWcD
- https://wb.md/3Oo22Im
|
|