การที่ผู้หญิงในอินเดียต้องให้สินสอดผู้ชายนั้นมีรากฐานทางวัฒนธรรม และประเพณีที่ยาวนาน ซึ่งถูกสืบทอดมาจากระบบที่เรียกว่า "ดาวรี" (Dowry) หรือสินสอดทองหมั้นในบางวัฒนธรรมของทวีปเอเชียในบางประเทศ
.
โดยสาเหตุหลักๆ ของธรรมเนียมนี้มาจาก ธรรมเนียมการแต่งงานเข้าไปอยู่ในบ้านสามี ซึ่งหลังแต่งงานครอบครัวฝ่ายชายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดูแลฝ่ายหญิงทั้งหมด ค่าสินสอดจึงมีเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าใช้จ่ายที่ฝ่ายชายต้องดูแลฝ่ายหญิงไปตลอด ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้หญิงจะทำงานนอกบ้านและหาเงินได้อย่างเท่าเทียมกับฝ่ายชาย ธรรมเนียมนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนไป
.
การให้สินสอดมีการสืบทอดมาหลายศตวรรษ และกลายเป็นธรรมเนียมที่ยากจะลบเลือน แม้ว่ารัฐบาลอินเดียได้มีกฎหมายห้ามมีสินสอดตั้งแต่ปี 1961 แต่การปฏิบัติก็ยังคงมีอยู่ในหลายพื้นที่
.
แต่การที่ฝ่ายเจ้าสาวเป็นผู้ให้สินสอด ก็นำมาซึ่งปัญหาทางสังคมมากมาย เช่น การทารุณกรรมในครอบครัว การกดขี่ทางเพศ และการฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินสอด
.
ในหลายกรณี ฝ่ายชายหรือครอบครัวฝ่ายชายเรียกร้องสินสอดที่เกินกว่าที่ครอบครัวฝ่ายหญิงสามารถให้ได้ ทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน ความขัดแย้ง และบางครั้งอาจนำไปสู่การทำร้ายหรือทอดทิ้งฝ่ายหญิง
.