HOME
 
 
CONTACT
  TODAY TOPIC  
 

พิธีประหารกษัตริย์ด้วย ท่อนจันทน์

 
  15/03/2024  
 
รู้หรือไม่ว่าในสมัยก่อนเขาประหารพระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ หรือเจ้านายชั้นสูง ๆ ยังไง ซึ่งในปัจจุบันยังมีคนไปยังสถานที่ที่เขาทำการประหารเพราะหวังว่าจะเจอสมบัติด้วย
.
ในสมัยก่อนการประหารชีวิตพระมหากษัตริย์หรือคนชั้นสูงจะต้องมีรูปแบบพิเศษแตกต่างจากคนสามัญชนทั่วไปซึ่งจะต้องเป็นพิธีการลงโทษที่ไม่ยืดเยื้อ โดยกำหนดแบบแผนไว้ในกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสำเร็จโทษ ซึ่งน่าจะมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปีจุลศักราช 722 แล้วมีการปรับปรุงและกำหนดชัดขึ้นไว้ในกฎหมายตราสามดวง ในกฎมนเทียรบาล มาตรา 176 ที่สืบทอดเรื่อยมาในราวยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้นจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
.
'ท่อนจันทน์' ทำมาจากไม้จันทร์ซึ่งเป็นไม้ที่หอมและมีราคาสูงมาก ในสมัยก่อนเขาจะนำมาสร้างวังหรือตำหนัก และเหตุผลที่เลือกใช้เครื่องมือนี้ในการประหารชีวิตพระมหากษัตริย์ก็เพราะว่า คนในสมัยนั้นมีความเชื่อว่า ถ้าเราจะทำการประหารพระมหากษัตริย์หรือคนชั้นเจ้านายสูง ๆ ไม่ควรให้เลือดหยดลงบนพื้นเพราะมันจะถือเป็นสิ่งอัปมงคลต่อบ้านเมือง อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าถ้าเลือดของผู้ที่ถูกประหารหยดลงบนพื้น วิญญาณของผู้ถูกประหารจะตามเอาคืนอีกด้วย
.
การประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ไม้ท่อนจันทน์จะมีรูปร่างเหมือนกันสากที่ไว้ใช้ตำข้าว โดยในการทำพิธีประหารเขาก็จะให้ชนชั้นเจ้านายนอนลง และนำผ้าสีแดงปูมาคลุมไว้ตั้งแต่หัวจรดเท้า หลังจากนั้นก็จะใช้เชือกมัดเพื่อไม่ให้ดิ้น และจะมีชายคนนึงชื่อว่า นายแวง ซึ่งนายแวงก็จะนั่งทับตักของนักโทษหันหน้าเข้าหากันเหมือนกับนั่งสมาธิ และนายแวงก็จะใช้แขนกอดรัดนักโทษเอาไว้ เพื่อไม่ให้นักโทษดิ้นและเป็นการทำให้นักโทษโดนตรึงไว้ให้อยู่กับที่
หลังจากนั้นก็จะมีผู้ชายอีกคนเป็น เพชรฆาต ก่อนการประหารเขาก็จะทำการกราบ 3 ครั้ง ก่อนที่จะใช้ท่อนจันทน์ทุบเข้าไปที่ต้นคอ ซึ่งเพชรฆาตจะทำอย่างชำนาญอย่างกับเป็นมือโปรเพราะจะทุบอย่างแม่นยำสุด ๆ เพื่อไม่ให้ไปโดนนายแวงที่นั่งกอดนักโทษเอาไว้อยู่ ทันทีที่ทุบนักโทษก็จะคอพับลงและซบลงที่อกของนายแวงเพราะจากไปในทันที และก็จะมีผู้ชายอีกสองคนเป็นขุนดาบกับขุนใหญ่คอยเป็นสักขีพยานที่นั่งดู
.
หลังจากที่นักโทษจากไปแล้วก็จะไม่มีการแกะผ้าแดงออกแล้ว จะนำนักโทษโยนลงไปในหลุมที่ขุดเอาไว้ซึ่งถ้านักโทษมียศไหนเขาก็จะมีการใส่เครื่องประดับที่เป็นการบ่งบอกยศติดตัวไว้ได้แต่ว่าจะไม่มีการทำพิธีเผาให้จะทำพิธีก่อนกลบหลุม
.
ในช่วงแรกที่มีการประหารชีวิตแบบนี้จะยังไม่มีการนั่งเฝ้าถึง 7 วัน แต่เนื่องจากเคยมีกรณีนึงที่เกิดขึ้นในยุคพระนารายณ์ คือมีคนรอดจากการถูกท่อนจันทน์ หลังจากนั้นมาพระนารายณ์จึงมีการสั่งให้นั่งเฝ้าที่หลุม 7 วัน เผื่อว่าคน ๆ นั้นรอดกลับมาอีก
.
ซึ่งมันก็มีอีกบันทึกนึงของจดหมายเหตุวันวลิต เขาบอกว่า 'การประหารชีวิตมีอีกแบบด้วยก็คือแบบที่ต้องนอนลงแล้วไม่ได้ทุบที่ตรงคอแต่เป็นทุบตรงท้องแทน' ซึ่งสถานที่ที่ทำการประหารก็คือ โคกพระยา หลายคนก็เชื่อว่าบางทีสมบัติอย่างเครื่องประดับยศหรือสมบัติที่นักโทษนำติดตัวไปด้วยก็อาจจะยังอยู่ในบริเวณนั้น ถึงแม้ว่าจะผ่านมาหลายร้อยปีแล้วก็ตามก็ยังมักมีคนแวะเวียนไปถามที่วัดโคกพระยาว่าเขาประหารกันตรงไหนเพราะหวังที่จะเจอสมบัติ
.
การประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ได้ถูกยกเลิกไปในรัชกาลที่ 4 อีกทั้งการสำเร็จโทษแบบนี้เป็นวัฒนธรรมร่วมที่มีมาจากทางฝั่งพม่าด้วย ซึ่งจะทำการสำเร็จโทษคล้ายกับของไทยเราเลย แต่เขาจะทำการทุบข้างหน้าคอตรงที่เป็นลูกกระเดือกแทน แต่ก็มีที่ทุบตรงข้างหลังจากท้ายทอยเหมือนกัน
.
ซึ่งหากมองพิธีดังกล่าวด้วยสายตาของคนในปัจจุบัน เราอาจจะคิดว่ามนุษย์กันเองนี่แหละที่น่ากลัวและโหดร้ายต่อมนุษย์ด้วยกันเองเป็นอย่างมาก นำไปสู่ความหดหู่จากการกระทำที่เหี้ยมโหด แต่ในมุมมองของคนมัยก่อนนั้นนี่เป็นเพียงความธรรมดาของสังคม และการประหารชีวิตด้วยท่อนจันทน์ยังมีรายละเอียดน่าสนใจแฝงอยู่ภายในมากมายที่ทำให้เราเห็นว่า พิธีการนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
______________________
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- ปรามินทร์ เครือทอง. (2545). สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
- ประวัติศาสตร์นอกตำรา
- เล่าเรื่องเก่าโดย ศนิโรจน์ ธรรมยศ
-katecalissa

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.