HOME
 
 
CONTACT
  TODAY TOPIC  
 

กินคาว ไม่กินหวาน สันดานไพร่
วลีนี้บ่งบอกถึงนิสัยการกินของคนไทยโบราณ

 
  05/01/2024  
 
ไพร่ = ประชาชนปกติ ส่วนมากเป็นคนยากจน เวลาจะกินอะไรก็ไม่พิถีพิถัน มีแค่ข้าวกับกับ ซึ่งต่างกับเจ้านาย ที่กินข้าวเป็นสำรับครบเครื่อง มีทั้งคาว ทั้งหวาน พอกินคาวเสร็จ ก็ต้องกินหวานล้างปาก จึงจะถึงว่าเป็นผู้ดี
.
นอกจากจะบอกถึงนิสัยการกิน ยังบอกถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมได้เป็นอย่างดี เพราะไพร่ต้องทำงาน ใช้แรง ไม่มีเงินทอง ไม่มีเวลา จึงไม่มีอาหารที่ดี แต่เจ้านายนั้น มีข้าทาสบริวารแวดล้อม จึงมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ ครบทั้งคาวทั้งหวาน
.
ถ้าอยากรู้ตำรับชาววัง(ผู้ดี)แต่ก่อนเขากินอะไร ก็แนะนำหนังสือทำอาหารชื่อ “แม่ครัวหัวปาก์” ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน หนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นตำราอาหารเล่มแรกของไทย หัวป่าก์ มาจากคำว่า ปาก (ปา-กะ) ที่แปลว่า การหุงต้ม แม่ครัวหัวป่าก์ จึงแปลว่า แม่ครัวที่ชำนาญในการหุงต้ม(ทำอาหาร)
.
ส่วนรสชาติอาหารในวังยุค ร.5 นั้น มีหลายท่านได้บันทึกไว้ เช่น เจ้าจอมสดับ(ผู้คิดค้นน้ำพริกลงเรือ) บอกว่า รสชาติไม่ฉุนเฉียว แต่ค่อนข้างติดไปทางหวาน
.
ถ้าผู้ดีกินหวานขนาดนี้แล้วแต่ก่อนมีคนเป็นเบาหวานรึไม่ คำตอบ คือ มีแน่นอน ที่ชัด ๆ เลยมี 2 คน:
1. รัชกาลที่ 6
2. สมเด็จพระศรีพัชริน
แต่ก่อนไม่เรียกว่าเบาหวาน แต่เขาเรียกว่า “เยี่ยวหวาน” เพราะปัสสาวะของคนป่วยจะมีมดมาตอม ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น “เบาหวาน” ซึ่งแปลว่าเยี่ยว(เบา)หวาน เหมือนกัน
.
แล้ววิธีการตรวจเบาหวานในแต่ก่อนนั้น นอกจากจะชิมเยี่ยวแล้ว(หมอชิม) ยังมีอีกวิธี คือ จะเอาเยี่ยวของผู้ป่วยไปเคี่ยวในกระทะ ถ้าคนปกติจะไม่มีตะกอน แต่ถ้าคนเป็นเบาหวานจะมีตะกอนขาว ๆ (น้ำตาล) ติดที่ก้นกะทะ
_____________________
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ประวัติศาสตร์แนวเอียง

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.