HOME
 
 
CONTACT
  LIFESTYLE  
 

มารี กูว์รี นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม
ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง

 
  24/08/2023  
 

มารี กูว์รี (Marie Curie) เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา จักวรรดิรัสเซีย ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศโปแลนด์ มารีเป็นบุตรสาวของบรอนีสวาวา (Bronislawa) กับววาดีสวอฟ (Wladyslaw) มีพี่น้องจำนวน 5 คน

บิดาของมารีเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพามารีมาที่ห้องปฏิบัติการอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มารีมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังเด็ก แตกต่างจากจากค่านิยมของสังคมส่วนใหญ่ของผู้หญิงในสมัยนั้น ที่จะเน้นการเรียนและการเตรียมตัวเป็นแม่บ้าน

เมื่อจบการศึกษาในระดับต้นแล้ว มารีกับพี่สาวของมารีได้ทำงานด้วยการเป็นครูสอนอนุบาลให้กับเด็ก ๆ ในละแวกนั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังที่จะไปเรียนที่ต่อที่ฝรั่งเศส แต่ด้วยปัญหาทางการเงินของทางบ้านทำให้มารีตัดสินใจหยุดเรียน และไปรับสอนหนังสือที่บ้านของผู้มีฐานะ

โดยมารีเป็นผู้เสียสละส่งเสียพี่สาวจนเรียนจบด้านแพทยศาสตร์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสก่อน และเมื่อพี่สาวเรียนจบจึงกลับมาส่งเสียมารีให้เรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ต่อ โดยความตั้งใจของมารีก็ไม่สูญเปล่า

เมื่อพี่สาวของมารีเรียนจบก็ได้มาส่งเสียมารีให้ได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส ในสาขาทางด้านวิชาฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม มารีก็ยังต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างประหยัดด้วยข้อจำกัดทางการเงิน และทำงานพิเศษเป็นติวเตอร์เพื่อหารายได้เพิ่มเติมจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1893 และได้เริ่มทำงานในห้องปฏิบัติการทางอุตสาหกรรมของศาสตราจารย์ Abriel Lippmann และเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสจนจบปริญญาโทในปี ค.ศ. 1894 จนสำเร็จ

มารีได้เริ่มทำงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับงานด้านการตรวจหาคุณสมบัติทางแม่เหล็กของเหล็กกล้าหลายชนิด และในปีเดียวกันนั้นเองมารีก็ได้พบรักกับ ปิแอร์ กูรี (Pierre Curie) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส

ความชอบ และความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์ได้ทำให้ทั้งคู่ทำความรู้จักกันจนเริ่มสนิทสนมกันมากขึ้น ทั้งคู่ก็ได้ตัดสินใจแต่งงานกัน ในปี ค.ศ. 1895 โดยจัดพิธีแบบเรียบง่าย

จุดเริ่มต้นของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้ เริ่มต้นมาจากการศึกษาพบธาตุ “ยูเรเนียม” ในแร่พิตซ์เบลนด์ (Pitchblende) เมื่อศึกษาโดยละเอียดผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ค้นพบว่าในตัวแร่เองยังมีพลังงานบางอย่างที่ถูกปล่อยออกมา และมีความแรงมากกว่าธาตุยูเรเนียม จนนำไปสู่การสกัด และค้นพบธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่

ธาตุใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า พอโลเนียม (Polonium) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศโปแลนด์ (บ้านเกิดของมาดามมารี คูรี) นอกจากนี้มารี คูรี ได้ทำการศึกษาและสกัดธาตุต่อไปอีก จนค้นพบว่ามีพลังงานอีกหนึ่งชนิดที่มีความแรงมากกว่ายูเรเนียม และพอโลเนียม ซึ่งพลังงานนี้ได้ปล่อยออกมาแบบทุกทิศทุกทาง จึงให้ชื่อว่า "เรเดียม" โดยมีรากศัพท์มาจาก radius (รัศมี)

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบล แม้สามีจะเสียชีวิตก็ตาม ด้วยกำลังใจอันล้นเปี่ยม เมื่อเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผู้คนส่วนมากล้มตาย และถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เธอจึงอาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอกซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่าง ๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงาน แต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

โดยในปัจจุบันรังสีเรเดียม ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์โดยให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เราใช้รังสีในงานวินิจฉัยทางแพทย์ เช่น การถ่ายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์ และใช้ในการรักษา เช่น การรักษามะเร็ง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

ในอดีตที่ผ่านมา ขณะที่รังสีเรเดียมยังเป็นของแปลกใหม่ ได้มีการนำรังสีมาใช้ในหลายรูปแบบ ทั้งในทางการแพทย์ ด้านความงาม ใช้ในทางอุตสาหกรรม รวมทั้งความบันเทิง โดยในขณะนั้นยังไม่มีความรู้ในเรื่องรังสีเรเดียมที่มากนัก ทำให้เกิดเหตุอันน่าเศร้าหลาย ๆ อย่าง

ขอขอบคุณที่มา
- scimath
- KMUTT Library
- WIKIPEDIA

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.