HOME
 
 
CONTACT
  TREND  
 

MIX AND MATCH วัคซีนโควิด-19
มีประเทศไหนฉีดบ้าง ?

 
  30/08/2021  
 

สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดในปัจจุบันยังไม่มีแนวโน้มที่จะเบาบางลง ด้วยตัวเลขของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตทั่วโลกที่ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน และสายพันธุ์ไวรัสโควิด-19 ก็พัฒนาจนมีหลากหลาย ทั้งยังเพิ่มระดับความอันตรายจนยากจะรับมือ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาที่มีอัตราการแพร่ระบาดรวดเร็ว และมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น ทำให้ ณ เวลานี้ เรื่องวัคซีนจึงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยเฉพาะการปรับแนวทางการฉีดวัคซีนที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง จนกลายมาเป็นประเด็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ก็คือ “การฉีดวัคซีนแบบไขว้” หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “การฉีดวัคซีนแบบผสมผสาน (Mix and Match)”

 
  ทำไมเราต้องฉีดวัคซีนผสม ?  
 

เนื่องด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ประการ โดยเฉพาะประการสำคัญที่สุดนั่นก็คือ “การได้รับการจัดสรรปริมาณวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง” ของหลายประเทศ ไม่ว่าจะด้วยการส่งออกวัคซีนที่ล่าช้าจากประเทศต้นทาง หรือได้รับจัดสรรวัคซีนไม่ครบตามปริมาณที่ตกลงไว้แต่ต้น ทำให้เกิดการขาดแคลนวัคซีนชนิดเดิมสำหรับฉีดป้องกันเป็นเข็มที่ 2 ให้กับประชาชน จึงเกิดเป็นความการพยายามในการจัดสรรใช้วัคซีนให้ได้จำนวนเพียงพอ และไม่ให้มีส่วนที่ต้องเหลือทิ้งอย่างไรค่า ด้วยการนำวัคซีนต่างชนิดฉีดเป็นเข็มที่ 2 โดยกล่าวอ้างว่าจะช่วยเพิ่มการป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกับประชาชน แม้กระทั่งการฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 3 ก็อาจเป็นวัคซีนต่างชนิดจากสองเข็มแรกได้เช่นกัน

หากสืบค้นจากข้อมูลการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับ “การฉีดวัคซีนสลับชนิด” จะเห็นว่าไม่ได้เป็นข้อมูลใหม่แต่อย่างใด หากแต่เป็นข้อมูลที่มีความเป็นไปได้ที่สามารถทำได้ในทางทฤษฎี และยังเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ผ่านการศึกษาและทดลอง ก่อนที่จะพัฒนาสำเร็จเป็นวัคซีนตัวสมบูรณ์ที่สามารถสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ ในอนาคตได้

 
 

มีประเทศไหนบ้าง ที่ใช้วัคซีนแบบผสม?
ประเด็น “การฉีดวัคซีนแบบผสมผสานให้กับประชาชน” ไม่ได้เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์เฉพาะแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เริ่มพิจารณาแนวทางการฉีดวัคซีนแบบไขว้ให้กับประชาชนเช่นกัน และวันนี้ socool.limited ได้รวบรวมข้อมูลประเทศต่าง ๆ ที่เปิดรับแนวทางการใช้วิธีฉีดวัคซีนไขว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการการภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กลับประชาชนมาไว้ที่นี่แล้ว มีประเทศไหนบ้างมาดูไปพร้อมกัน

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เริ่มใช้วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนกระตุ้นสำหรับประชาชนที่ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มไปก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021

ประเทศรัสเซีย เริ่มใช้วัคซีนสปุตนิก วี ผสมกับวัคซีนสูตรต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 โดยได้ทำการทดลองฉีดวัคซีนสปุตนอก วี กับวัคซีนแอสตราเซเนก้า และไม่พบผลข้างเคียงในเชิงลบแต่อย่างใด

ประเทศบาร์เรน เริ่มให้ประชาชนที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหนก็ตาม สามารถฉีดวัคซีนไขว้เป็นวัคซีนไฟเซอร์ หรือ วัคซีนซิโนฟาร์ม เพื่อกระตุ้นและเสริมภูมิคุ้มกันได้

ประเทศอิตาลี มีการแนะนำให้ประชาชนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนก้าเข็มแรกไปแล้ว สามารถฉีควัคซีนตัวอื่นเป็นเข็มที่ 2 ได้

ประเทศแคนาดา แนะนำประชาชนที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนก้าเป็นเข็มแรก แล้วไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนชนิดเดิมเพื่อฉีดเป็นเข็มที่ 2 ให้เลือกวัคซีนประเภท mRNA เช่น วัคซีนโมเดอร์นา หรือ วัคซีนไฟเซอร์ ฉีดเป็นเข็มที่ 2 แทน

ประเทศภูฏาน เห็นชอบให้มีการวัคซีนสูตรผสมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด-19 แก่ประชาชนกว่า 700,000 คนในประเทศ

ประเทศเกาหลีใต้ ประชาชนที่ฉีควัคซีนแอสตราเซเนก้าเป็นเข็มแรก จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 เนื่องด้วยปัญหาการรับการจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้า

ประเทศจีน ทำการทดลองฉีดวัคซีนแบบไขว้ รวมถึงใช้วัคซีนต่างขนานเพื่อฉีดกระตุ้นภูมิเป็นเข็มที่ 3 โดยเข็มที่ 1 เป็นวัคซีนแคนซิโน จากบริษัท แคนซิโนไบโอโลจิกส์ และเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนเชื้อตาย ของเครือฉงชิ่งจี้เฟย

ประเทศเวียดนาม อนุญาตให้ประชาชนที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนก้าเข็มแรกไปแล้ว สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 ได้

ประเทศอินโดนีเซีย กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาฉีดวัคซีนแบบไขว้ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ที่เคยฉีดวัคซีนซิโนแวคเป็นแรกที่ 1 ไปก่อนหน้านี้

ประเทศไทย เป็นที่รู้กันในวงกว้างว่ามีการประกาศให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนก้า เป็นเข็มที่ 2 สำหรับประชาชนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มแรก

 
 

การปรับสูตรการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบไขว้ และทำการทดลองในระยะเวลาอันสั้นครั้งนี้ อาจจะเป็นแนวทางแก้ไขแบบเร่งรัดที่เหมาะสมกับสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วอย่างในตอนนี้ ซึ่งหลายประเทศเองก็ได้ทดลอง พร้อมเริ่มฉีดวัคซีนแบบผสมผสานให้กับประชาชนอย่างจริงจังมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ของการฉีดวัคซีนแบบไขว้จะช่วยควบคุมเชื้อไวรัสได้อย่างดีหรือไม่ คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องช่วยพิสูจน์

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.