HOME
 
 
CONTACT
  TODAY'S TOPIC  
 

ชวนมาทำความรู้จักกับ “โรคฝีดาษลิง”
พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

 
  13/01/2022  
 

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่รายงานผลประเมินภาพรวมความเสี่ยงพบว่า #โรคฝีดาษลิง เป็น “ความเสี่ยงปานกลาง” ต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก ล่าสุดมีการยืนยันว่ายังไม่พบโรค "ฝีดาษลิง" ในประเทศไทย เช็ก 4 อาการที่พบมากที่สุด ขณะที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รายงานข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค.2565 พบผู้ป่วยจากทั่วโลกรวมแล้ว 494 ราย

     ฝีดาษลิง เป็นโรคหายาก เกิดจากไวรัสที่เป็นญาติกับโรคฝีดาษ (smallpox) ทำให้เป็นไข้ มีฝีหนองคันเกิดขึ้นตามผิว และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปกติโรคฝีดาษลิงจะพบในทวีปแอฟริกา และมักพบในสัตว์ แต่ไม่นานมานี้มีรายงานข่าวการตรวจพบในบางประเทศยุโรป เริ่มมีรายงานใน UK, โปรตุเกส
     "ฝีดาษลิง" เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับฝีดาษที่อยู่ในคน คนที่เกิดก่อน พ.ศ.2523 ปลูกฝีไปหมดแล้วมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต พ.ศ.2523 องค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศว่า ไม่มีโรคฝีดาษในโลกอีกแล้วให้ยกเลิกการปลูกฝีองค์การอนามัยโลกประกาศปี 2523 ก็จริง แต่ สธ.บอกว่าไทยเลิกวัคซีนฝีดาษไปตั้งแต่ปี 2517 ดังนั้นคนที่รอด ส่วนมากจะเป็นคนแก่
      สำหรับคนที่เกิดหลังจากปี 2523 ที่ได้มีการเลิกปลูกฝีของโรค #ฝีดาษ ไปแล้วนั้น แต่ยังมีที่แขนคล้ายรูปอุ้งเท้าหมา นั้นคือการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน #วัณโรค หรือ BCG เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กทารกแรกเกิด จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า "ปลูกฝี" ที่ทิ้งรอยแผลไว้
      โดยหลังจากฉีดจะเหลือแต่รอยแผลเป็นขนาดเล็กและสามารถอยู่ได้นาน 10 ปี โดยรอยแผลเป็นในแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน บางคนแผลใหญ่ บางคนแผลเล็ก หรืออาจจะไม่มีรอยแผลเป็นเลย ดังนั้นหากไม่มีรอยแผลเป็นอะไรก็ไม่ต้องกังวลถ้ามีประวัติวัคซีนชัดเจน แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าที่แขนเรานี่คือ ปลูก #ฝีดาษ หรือ ปลูกฝี BCG? วิธีการเช็คก็คือ การตรวจสอบแผลเป็น ซึ่งส่วนใหญ่จะฉีดที่ต้นแขนซ้าย ถ้าปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ แผลเป็นจะเป็นลักษณะแผลแบนเรียบหรือเป็นหลุมลงไปเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นการปลูกฝีป้องกันวัณโรคที่เรียกว่า BCG แผลเป็นนั้นจะนูนขึ้นมา

อาการของโรคฝีดาษลิง เป็นญาติกับโรคฝีดาษในคน แต่แพร่ระบาดได้ยากกว่า มีอาการรุนแรงน้อยกว่า และทำให้เสียชีวิตได้น้อยกว่า มักจะมีอาการป่วยนาน 2-4 สัปดาห์ และมีระยะฟักตัว (ตั้งแต่ติดเชื้อจนมีอาการ) ประมาณ 5-21 วัน

      มีอาการป่วยปนกันระหว่างเป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หนาวสั่น เหนื่อย และต่อมน้ำเหลืองบวม (ซึ่งเป็นจุดแตกต่างสำคัญจากโรคฝีดาษในคน) เมื่อเริ่มเป็นไข้ จะมีตุ่มคันที่ดูน่ากลัวเกิดขึ้นใน 1-3 วัน โดยมักเริ่มที่ใบหน้า และกระจายไปตามร่างกาย
บางคนอาจขึ้นไม่เยอะ
      การติดต่อของโรคฝีดาษลิง เราสามารถติดเชื้อไวรัสโรคนี้จากสัตว์ที่ติดเชื้อได้ ทั้งจากการที่ถูกสัตว์กัดหรือข่วน และจากการกินเนื้อของมัน ส่วนการติดจากคนที่ติดเชื้อเกิดได้โดยการสัมผัสกันโดยตรง หรือจับเสื้อผ้าที่นอนที่ปนเปื้อนเชื้อ
     ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านรอยแผลบนผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ หรือเนื้อเยื่อที่มีเมือก เช่น ดวงตา จมูก ปาก ส่วนใหญ่การแพร่จากคนสู่คนจะผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ เช่น หยดน้ำลาย ทำให้เชื้อมักเดินทางไปไม่ไกลนัก จึงต้องเว้นระยะห่าง ในช่วงใบหน้าต่อใบหน้า (face to face)
     โรคฝีดาษลิง ยังไม่มีวิธีรักษาอย่างเฉพาะทาง และส่วนใหญ่โรคจะหายไปเอง เชื่อกันว่า "วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ" นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคฝีดาษลิงไปด้วย แต่เนื่องจากโรคฝีดาษได้ถูกกำจัดหมดไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อ 40 ปีก่อน ทำให้ตอนนี้ ไม่มีวัคซีนโรคฝีดาษสำหรับประชาชน
เหลืออยู่อีกต่อไป
     แต่ก็ได้มีการพัฒนาวัคซีนใหม่สำเร็จแล้ว โดยบริษัท Bavarian Nordic สำหรับป้องกันทั้งโรคฝีดาษในคน และโรค #ฝีดาษลิง โดยได้รับการรับรองแล้วจากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และแคนาดา โดยจะใช้ชื่อการค้าว่า Imvanex, Jynneos และ Imvamune ตามลำดับ ส่วนยาต้านไวรัสกำลังอยู่ระหว่างพัฒนา
     ผื่นฝีดาษลิง มักจะขึ้นบริเวณ ใบหน้า (95%) และฝ่ามือฝ่าเท้า (75%) เยื่อบุภายในปาก (70%) อวัยวะเพศ (30%) และเยื่อบุตา (20%) ลักษณะผื่นจะคล้ายกับโรคสุกใส คือเริ่มจากผื่นราบ ผื่นนูน กลายเป็นตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำเหลือง และตกสะเก็ดไปในที่สุด

การป้องกันควบคุมโรค เริ่มต้นด้วยการป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษลิงด้วยวิธีง่าย ๆ
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
3. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://healthmenowth.com/
https://www.tnnthailand.com/news/social/115233/
https://mono29.com/life/health/359024.html

 

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.