HOME
 
 
CONTACT
  TODAY TOPIC  
 

ห้ามเล่นดนตรีไทย
เพียงเพราะถูกมองว่าล้าสมัย

 
  29/11/2023  
 
เมื่อครั้น สงครามโลกครั้งที่2 ผ่านไป หลังจากที่ประเทศไทยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตรคือญี่ปุ่นแล้ว ท่านผู้นำของประเทศไทยในสมัยนั้น ก็เร่งปรับปรุงสภาพของประชาชนไทยให้เทียมทันมิตรประเทศ อาทิ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชายต้องแต่งกายสากลนิยม หญิงต้องนุ่งกระโปรงสวมหมวกทุกคน จึงจะเป็นสัญลักษณ์ว่า ไทยเป็นชาติมหาอำนาจเทียมทันมิตรประเทศเหล่านั้นเหมือนกัน
.
ต่อมา ท่านยังได้พิจารณาปรับปรุงอะไร ๆ อีกหลายอย่าง เช่น จัดให้ข้าราชการเดินทางไกล เพื่อแสดงว่าคนไทยเราแข็งแรงเข้มแข็ง ต้องมีการร่วมสังสันทน์จัดงานรื่นเริงบ่อย ๆ เพื่อแสดงว่าไทยเรา กล้าหาญร่าเริง ไม่ขลาดกลัวภัยสงคราม ทุก ๆ บ่ายวันพุธให้ข้าราชการหยุดทำงาน แต่ต้องมาร่วมชุมนุมกันเล่นกีฬา หรือรื่นเริงเล่นรำวงหรือเต้นรำ ถ้าใครไม่ร่วมมือ ไม่เล่นรำวง ไม่ขวนขวายที่จะหัดวงก็จะเป็นการไม่เหมาะสม
.
เท่านั้นยังไม่พอ ท่านหันมาพิจารณาเรื่อง ศิลปะ เห็นว่าการดนตรีของไทยนั้นคร่ำครึ ล้าสมัย ป่าเถื่อน เป็นที่น่าอับอายแก่มวลมหามิตร ท่านก็เลยออกคำสั่งเป็นทางราชการ ห้ามเล่นเครื่องดนตรีไทย บางชนิดทั่วประเทศ จะเล่นได้ก็แต่ ดนตรีสากล เท่านั้น และท่านยังมีความคิดเห็นว่า เพลงไทย ที่มีชื่อนำด้วยคำว่า ลาว, แขก, พม่า ฯลฯ นั้นก็ไม่ถูกวัฒนธรรมไทย เกรงว่าจะเป็นการไปลอกเลียนเอาทำนองเพลงของชาติเหล่านั้นมา จึงให้ตัดชื่อนำหน้าด้วยคำเหล่านั้นออกให้หมด
.
ในยุคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่ออะไรตามใจท่านผู้นำอย่างมากมายการที่ทางการสั่งห้ามนักดนตรีไทยเล่นดนตรีไทยนั้นเป็นคำสั่งที่เด็ดขาด ขนาดที่จะแอบเล่นเองภายในบ้านก็ไม่ได้ เพราะถ้ามีเสียงดังลอดออกไปนอกบ้านอาจมีความผิด นักดนตรีไทยทุกคนรู้สึกเศร้าใจ ท้อใจ หมดกำลังใจ รู้สึกหมดอิสรภาพ ผู้ที่รักการดนตรีทั้งหลายหมดความสุขในชีวิต เสียดายอาลัยที่ศิลปะของชาติจะต้องสูญไป แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อยุคนั้น “ทุกคนจะต้องเชื่อผู้นำ ชาติจึงจะพ้นภัย”
.
ความคับอกคับใจนั้น เมื่อไม่สามารถระบายออกด้วยคำพูด หรือการกระทำ ก็อาจมีทางระบายได้ด้วยการคิดการเขียน ผ่านเพลงแสนคำนึง เนื้อหาใจความนั้นได้บ่งบอกถึงความอัดอั้นตันใจในวัฒนธรรมไทยที่ถูกผู้นำเอาเปรียบและไม่เห็นค่า แต่ลูกสาวของครูศร (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ) ไม่เห็นด้วยกลัวจะโดนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับไป
.
ภายหลังต้องหาเนื้อร้องใหม่ ได้เนื้อร้องจากเรื่อง ‘ขุนช้างขุนแผน’ ซึ่งพอจะมีความหมายเข้ากับชื่อเพลงที่ท่านเรียกว่า ‘แสนคำนึง’ ได้ เพลงนี้เมื่อภายหลังเลิกห้ามเล่นดนตรีไทย (เลิกไปเองโดยปริยายหลังสงคราม) ก็ได้นำออกสอนศิษย์ของท่านจนเป็นที่แพร่หลายมาจนทุกวันนี้”
.
ขอขอบคุณที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_66336

 
           
Copyright © 2021 SOCOOL LIMITED. All right reserved.