อุกาฟ้าเหลือง นี่คือคำที่เราใช้กันเวลาท้องฟ้ามีสีเหลืองแปลก ๆ แบบที่ไม่ค่อยเจอบ่อย ๆ มันเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ดูแปลกตา แถมบางครั้งก็น่ากลัวหน่อย ๆ ด้วย มันเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฝุ่น ควัน เมื่อมีฝุ่นละอองมากในชั้นบรรยากาศ แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบกับอนุภาคเหล่านั้นจะสะท้อนแสงสีเหลืองมากขึ้น ทำให้ท้องฟ้ามีสีเหลืองหรือส้มเข้ม หรืออากาศที่แปรปรวนแบบไม่คาดคิด เกิดขึ้นประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะค่อยๆ จางหายไป
.
ในอดีต เมื่อฟ้าเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มแปลก ๆ คนโบราณจะเชื่อว่าเป็นลางร้าย บอกเหตุการณ์ที่อาจมีภัยพิบัติ หรือมีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม หรือโรคระบาด เพราะฟ้าที่ดูแปลกไปนั้นไม่ใช่สิ่งที่เห็นได้ทุกวัน จึงทำให้คนรู้สึกหวาดกลัวและเตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
.
นอกจากนี้ บางแห่งยังมีความเชื่อว่าอุกาฟ้าเหลืองเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งทางการเมือง สังคม หรือแม้แต่สภาพแวดล้อม เช่น ฟ้าเหลืองอาจเกิดก่อนแผ่นดินไหวหรือน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นการเตือนจากธรรมชาติว่าเราต้องเตรียมตัวรับมือให้ดี
.
ปัจจุบันเรารู้ว่าอุกาฟ้าเหลืองเกิดจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศ แต่ถ้ามองในมุมของความเชื่อหรือปรัชญา อุกาฟ้าเหลืองก็ยังถือว่าเป็นการเตือนให้เราตระหนักถึงการดูแลโลกและธรรมชาติ เพราะการเปลี่ยนแปลงของฟ้าแบบนี้บ่งบอกว่าสภาพอากาศเริ่มแปรปรวนมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากฝีมือของมนุษย์เอง เช่น การปล่อยควันพิษ การเผาป่า หรือมลภาวะต่าง ๆ ที่เราสร้างขึ้น
.
อุกาฟ้าเหลืองไม่ว่าจะในมุมมองทางวิทยาศาสตร์หรือความเชื่อโบราณ ก็ล้วนเป็นการส่งสัญญาณให้เรารับรู้ว่าโลกของเรากำลังเปลี่ยนแปลง และเราจำเป็นต้องใส่ใจธรรมชาติให้มากขึ้น ก่อนที่ธรรมชาติจะส่งคำเตือนที่รุนแรงกว่านี้มาให้
.
ที่มา
https://www.stkc.go.th/info